วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ข้อสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ 
กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)
พระราชบัญญัติ หมายถึง บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
พระราชกฤษฎีกา หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไรในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย          
มนุษย์เราไม่ว่าจะเป็นชนเชื้อชาติศาสนาใดเมื่อรวมกันอยู่ในสังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมนั่นเอง
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
ดิฉันคิดว่าถ้าราไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้ในปัจจุบันปัญหาก็จะเกิดขึ้นมากมายและประชาชนจะไม่เกรงกลัวกฎหมาย ประเทศไม่มีระบบระเบียบทำให้เกิดความวุ่นวาย

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไข เพราะถ้ารัฐธรรมนูญมาตรที่ 112 มีการแก้ไขประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่กะคัดค้านและมีการประท้วงถือเป็นการละเมิดหรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์พระมหากษัตริย์ มิใช่ประเด็นหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป เนื่องจากองค์พระมหากษัตริย์ดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐไทย ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุของค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ชาวไทยทุกคนไม่ยอมให้ผู้ใดมาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของตน

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพาทขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ในกรณีที่ดิฉันเป็นคนไทยคนหนึ่งก็ไม่อยากเสียดินแดนให้กับประเทศอื่นๆ เพราะประเทศไทยยังมีสิทธิ์ในการครอบครองสถานที่ตรงนั้น และถ้าให้ถูกต้องประเทศกัมพูชาเองก็มีสิทธิ์ในการครอบครองสถานที่ตรงนั้นเหมือนกัน วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 ประเทศเข้าร่วมเจรจาปรึกษาหาข้อตกลงเพื่อให้สถานที่ตรงนั้นเป็นมรดกของทั้ง 2 ประเทศเพื่อไม่ให้ประเทศใดประเทศเสียผลประโยชน์หรือเสียดินแดนและเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาให้มีความเหนียวแน่นมากขึ้น

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล

เห็นด้วย เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ประชาชนได้มีการศึกษาความรู้และความสามารถที่แข็งแรงและให้ประชาชนในประเทศมีความรู้ที่สูงขึ้นและรัฐธรรมนูญสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนเคารพในกฎหมายเพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาก็เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษาเพราะรัฐธรรมนูญได้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นทำให้คนไทยมีการศึกษาและปลูกฝังให้คนไทยมิตสำนึกที่ดี

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย    การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ   การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกัน คุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่ดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครูหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
จุดมุ่งหมายและหลักการในการจัดการศึกษามีไว้เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ของตนเองส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด  กฎหมายท่านคิดว่าผิดจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ               มีวิธีการทำอย่างไร
                ไม่ผิดค่ะ เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่า

ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ.
 2547 และ
2.
 เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3.
 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.
 ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง   ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ในการเรียนวิชานี้ ดิฉันคิดว่ามีความเหมาะสม เพราะมีความสะดวกในการเรียนผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีความเป็นอิสระในการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
 ถ้าให้เกรดในการเรียนวิชานี้ ดิฉันให้ A เพราะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา และอาจารย์ผู้สอนก็มีความรู้และประสบการณ์ที่มากพอในการถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนมีความเข้าได้ และสามารถนำวิธีการและเนื้อหาไปใช้ในการสอนของดิฉันได้ในอนาคตข้างหน้าได้   และความคาดหวังของดิฉันในรายวิชานี้ดิฉันคาดหวังจะได้ A จากอาจารย์ผู้สอน เพราะดิฉันคิดว่าข้อมูลหรือเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนมาสามารถทำให้ดิฉันได้เกิดความรู้และถ่ายทอดความคิดเห็นลงไปในบล็อกที่อาจารย์กำหนดไห้






วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่   9

ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่นระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไรประกาศใช้เมื่อใดใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้นเนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใดโดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้ ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา) 


1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2547
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ.2547ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่30กันยายน 547ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
 เมื่อมีผู้บริจาคเงินทรัพย์สินหรือแรงงานไม่ว่ารายเดียวหรือหลายรายให้แก่ส่วนราชการหรืvสถานศึกษาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่ได้รับผลประโยชน์สำหรับการบริจาคตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบล้านบาทผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ได้รับบริจาคไม่ถึงห้าล้านบาทตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณ

 2.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสารคือ ทางราชการะมีข่าวหรือประชาสัมพันธ์ใดๆทางราชการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนและพูดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ด้วยเพื่อข่าวสารข้อมูลทีเป็นเป็นความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและประเทศชาติเมื่อให้ข่าวที่สำคัญหรือแถลงข้อเท็จจริงไปแล้วให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบ
ในกรณีที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องแถลงข้อเท็จจริงโดยรีบด่วนก็ให้หัวหน้าส่วนราชการ
ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแถลงข้อเท็จจริงได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑สิงหาคม พ..๒๕๓๐ ผู้ลงนามคือ พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                                          

3.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา๕ ประกอบกับมาตรา ๓๘แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) ..๒๕๔๕รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้
ในการจัดตั้งสถานศึกษาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณากลั่นกรองคำร้องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือในกรณีที่ทางราชการเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดตั้งสถานศึกษาเป็นกรณีพิเศษให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาอนุญาตเมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุญาตแล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกาศจัดตั้งสถานศึกษาและให้จัดระบบส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้มีประสิทธิภาพพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
การรวมสถานศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเพื่อให้สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเกิดผลดีแก่ผู้เรียนทั้งในด้านสิทธิโอกาส และคุณภาพการศึกษา
การเลิกสถานศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษาเมื่อสถานศึกษานั้น
มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
() ไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน
()จำนวนนักเรียนลดลงจนไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้
การเลิกสถานศึกษาโดยปกติควรเลิกปีละหนึ่งชั้นเรียนเริ่มตั้งแต่ชั้นต้นของสถานศึกษาเว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษอาจเลิกปีละเกินกว่าหนึ่งชั้นเรียนหรืออาจเลิกพร้อมกันทุกชั้นเมื่อเลิกสถานศึกษาจะต้องจัดให้นักเรียนในสถานศึกษาที่ถูกเลิกได้เข้าเรียนทุกคน
ประกาศ ณ วันที่ ๓มกราคม พ.. ๒๕๕๐  วิจิตร ศรีสะอ้าน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 4.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบพ.ศ.2548ประการใช้ วันที่ 30กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ
ผู้กำกับการสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบแผนการสอบโดยต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควรกำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบให้แก่ผู้เข้าสอบ ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆอันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ต้องแต่งการให้สุภาพเรียบร้อยตามส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนดหากผู้กำกับการสอบทำการใด ประมาท เลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง

  5.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา และมาตรา ๖๕แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้
ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นมีสิทธิในการลงโทษนักเรียนในกรณีที่การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาหรือของกระทรวงศึกษาธิการหรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาโดยมีการลงโทษ 4 ประการ
(1) ว่ากล่าวตักเตือนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
()ทำทัณฑ์บนในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกั
สภาพนักเรียนหรือนักศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
() ตัดคะแนนความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด
()ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิด
ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แต่ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรงหรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาทโดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษาและความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
ประกาศ ณวันที่ ๑๘มกราคมพ..๒๕๔๘อดิศัย โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

6.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ะเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษาพ.ศ.2547 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
เวลาราชการหมายความว่าเวลาระหว่าง08.30 ถึง16.30 น.ของวันทำการและให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหรือเป็นอย่างอื่นด้วย
วันทำการ หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
วันหยุดราชการหมายความว่าวันเสาร์และวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการ


7.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษาพ.ศ.2547 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
สถานศึกษาที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือกำหนดชื่อสถานศึกษาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดไว้ มีสาระสำคัญดังนี้
1. การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ใช้คำว่า โรงเรียน เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์หรือสถานที่อื่นใด แล้วแต่กรณี
2. การกำหนดชื่อสถานศึกษาต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ
3.ไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินีหรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้และไม่เป็นชื่อพ้อง หรือ มุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของราชทินนามหรือทายาท
4. ชื่อสถานศึกษาต้องใช้ภาษาไทย
5. ชื่อสถานศึกษาที่กำหนด ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น
6. ชื่อสถานศึกษาไม่ควรมีความยาวเกินความจำเป็น
7.หากสถานศึกษาใดมีความประสงค์ที่จะกำหนดชื่อสถานศึกษาโดยใช้ชื่อผู้บริจาคเป็นชื่อสถานศึกษาหรือกรณีอื่นๆ ต่อท้ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

         8.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้องหรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 28 กันยายน 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 กำหนดว่า สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมกับการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษาซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคารควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
2. การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียวหากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
3.การที่มีผู้จัดซื้อให้หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียวหากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาคถ้าผู้บริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์ร้อยละห้าสิบของราคาอุปกรณ์ขึ้นไปประสงค์จะจารึกชื่อและผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์เห็นชอบด้วย ให้จารึกชื่อผู้บริจาคนั้นไว้ที่อุปกรณ์
4.เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลผู้มีคุณความดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่นแม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควรและประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคารให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่ต้นสังกัดมอบหมาย

9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้องหรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปี เกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ. ศ.2547 ประกาศใช้วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก  (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)ในกรณี วัน เดือน ปีเกิดของนักเรียน นักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกในหัวข้อสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐานและการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่งในกรณีที่ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ  (ก) สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด (ข) ถ้าหากเอกสารหลักฐานตามข้อ    (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่น ๆที่หน่วยราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหารทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน   (ค) ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้นวัน เดือน ปีเกิด ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป

 10.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาพ.ศ.2546ประกาศใช้ วันที่7กรกฎาคม 2546ผู้ลงนามในระเบียบ ปองพล อดิเรกสาร (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ
ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา

11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอก สถานศึกษา พ.ศ.2548ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู นักเรียน (1/2 คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอนในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืนผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา1ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักรหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุมผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย ครู 1:นักเรียนไม่เกิน 30คนถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิง ส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนอนุญาตไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
                    
12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2)     พ.ศ.2547
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็มแต่ไม่น้อยกว่า12เดือนเต็มไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไปมีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน  ของปีที่จะเข้าศึกษา
                    
13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548.ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)ให้สถานศึกษาต่างๆ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษาโดยให้มีครูอาจารย์ นักเรียนนิสิต นักศึกษาและเจ้าหน้าที่อื่นๆในสถานศึกษาเป็นสมาชิกในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษาให้มุ่งถึงประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประการสำคัญเงินที่ใช้ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่าเงินกิจกรรมสหกรณ์ไม่ใช่เงินบำรุงการศึกษาและอยู่นอกการควบคุมของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2520 ให้จัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์แต่ละประเภทโดยอยู่ในความควบคุมของสถานศึกษาสถานศึกษาใดเริ่มจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใดสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางหรือขึ้นตรงกับส่วนกลางให้รายงานอธิบดีเจ้าสังกัดทราบสถานศึกษาใดเลิกจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใดให้รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัด ตามความทราบ แล้วแต่กรณีข้อบังคับของกิจกรรมสหกรณ์แต่ละประเภทให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษากำหนดให้สถานศึกษารายงานผลการดำเนินงาน สถานะการเงินและงบดุลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัดทราบทุกปีหลังการประชุมใหญ่ประจำปี กิจกรรมสหกรณ์ประเภทใดของสถานศึกษาใดซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันใช้ระเบียบนี้ให้ถือว่าการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ประเภทนั้นของสถานศึกษานั้นมีผลสมบูรณ์
      
  14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง ราชการ พ.ศ.2550
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550 ประการใช้ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550ผู้ลงนามในระเบียบหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) กำหนดหลักการเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักของส่วนราชการสามารถใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกและเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเข้าพักในที่พักของทางราชการได้ โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นกล่าวคือหากส่วนราชการใดจะใช้ดุลพินิจดังกล่าวจะต้องบริหารเงินงบประมาณที่ได้รับให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรด้วย
แก้ไขบทบัญญัติที่อ้างอิงให้ถูกต้องสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2547รวมทั้งปรับปรุงถ้อยคำของหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติบางส่วนให้มีความชัดเจนและเข้าใจยิ่งขึ้นเช่น บทบัญญัติที่อ้างฐานอำนาจให้ออกหลักเกณฑ์ฯจากเดิมที่อ้างตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนเป็นพระราชกฤษฎีกาเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 เป็นต้น

15.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550 ประการใช้ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีสอ้าน (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่5และชั้นประถมศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสมการขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอและเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไม่น้อยกว่า 40 คน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพพร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับดี ต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งนี้ให้มีห้องเรียนห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ และอยู่ในสภาพใช้การได้ดี มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษามีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่น้อยกว่า40 คนเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียนมีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า5ห้องเรียนต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและมีครูเพียงพอทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และสถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับ การจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร

16.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550.ประการใช้ วันที่3มกราคม พ.ศ. 2550ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีสอ้าน (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
      
17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2548
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6และมาตรา65แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ดังต่อไปนี้
1.สอบถามครู อาจารย์หรือหัวหน้าสถานศึกษาเกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาหรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
2.เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอน ต่อไป
3.ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
4.เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก
5.สอดส่อง ดูแลรวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียนและนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
6.ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อืน
  
18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2551 ผู้ลงนามในระเบียบ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งวิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนดังนี้ ชนิดและแบบของเครื่องแบบรวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่างเครื่องหมายของสถานศึกษาการกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น แล้วแต่กรณีและประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบสถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณีสถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดนักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมืองชุดไทย ชุดลำลองชุดฝึกงานชุดกีฬาชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใดให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสมในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสมนักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพนักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนตามความเหมาะสมสถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิมหรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

 19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาพ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับเพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่บุคคลให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์  ฉายแสงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับเข้าเรียนในสถานศึกษากรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวกและติดตามให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อนให้สถานศึกษา เรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
1.สูติบัตร
2.กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านหรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1หรือ2ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
4.ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1, 2 และ 3ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
5.ในกรณีที่ไม่มีบุคคลหรือองค์กรเอกชนตามให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
    
20.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องปีการศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549ประกาศใช้เมื่อวันที่28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยาผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษาภาคเรียนที่ 1เปิดเรียน 16พฤษภาคม ปิด11ตุลาคม ในปีเดียวกันภาคเรียนที่ 2 เปิด 1 พฤศจิกายน ปิด 1 เมษายน ในปีถัดไป
ว่าด้วยการปิดเรียนกรณีพิเศษคือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วันโดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3วันผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน
ว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษคือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ.ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ.ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ปิดแล้วต้องจัดวันเปิดสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันเปิดเรียนปกติที่ปิดไปด้วย

21.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ  พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เวลาราชการ หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการและให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หรือเป็นอย่างอื่นด้วย
วันทำการ หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
วันหยุดราชการหมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นและให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้นทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก

22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยาผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การลงทะเบียนนักเรียนตามปกติต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำห้ามการขูดลบเพิ่มเติมถ้าเขียนผิดพลาดหรือตกจำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงการแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขแล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่งกับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไปจะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่งสถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองทะเบียน ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการอำเภอ

23.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ผู้ลงนามในระเบียบ นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ   (ฉบับที่2)พ.ศ.2547)
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คุณสมบัติผู้ลาศึกษาต่อ
1. ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็ม แต่ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็มไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป
2. มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีอายุเกิน 45 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ
3.ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัยระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้วหรือถ้าเป็น ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติจะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้
4.มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้
5.ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติหรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ1กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไปจำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนข้าราชการ ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วยเศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาตสถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจำนวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกินหนึ่งคน
                                                                                                                    
25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

การออกหนังสือรับรองความรู้สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้นซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด เมื่อสถานศึกษาใด พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 ข้อ 6 มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อนกล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่าบุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่อาจสอบสวนหาพยานหลักฐานเอกสารก่อนหากไม่ปรากฏร่อยรอยจากพยานเอกสารเลยก็จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานจากพยานบุคคลสถานศึกษาต้องไต่สวนจนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง แล้วรายงานผลการไต่สวน ให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้ให้หรือไม่ หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้ สถานศึกษา ไม่มีอำนาจพิจารณาเอง

 26.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัดทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริมกำกับและสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้วให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนอะ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม

              27.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสถาบันศึกษาปอเนอะด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะพ..2547ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.. 2548 ผู้ลงนามในระเบียนนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า โต๊ะครู และ ผู้ช่วยโต๊ะครู ในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
โต๊ะครูหมายความว่าผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
ผู้ช่วยโต๊ะครูหมายความว่าผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะกรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ..2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับหรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
                
 28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่นของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546ผู้ลงนามในระเบียบนายไพฑูรย์ จัยสินอธิบดีกรมสามัญศึกษารักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ
การมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการในระยะเริ่มแรกที่มีการกำหนดตำแหน่งอัตราหรือแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ผู้อำนวยการมอบหมาย หรือมอบอำนาจตามระเบียบนี้
                
29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบ
                 
30.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.254
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาพ.ศ.2549โดยที่ให้เป็นสมควรตามระเบียบการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ นางพรนิภา ลิมปพยอมเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงินเว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้และให้สถานศึกษาเก็บเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ทางคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่นเว้นแต่ได้รับอนุญาตจาเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานอำนาจการอนุมัติการจ่ายเงินและการก่อหนี้เงินผูกพันรายได้สถานศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด
         
 31.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาโดยเห็นเป็นการสมควรในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปในทางเดียวกันประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษาให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหายให้สถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐานการรื้อและจำหน่ายอาคารสิ่งปลูกสร้างอยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง