วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1. ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ

หมวดที่ 1 ทั่วไป

มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้

มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบออบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐภา คณะมนตรี และศาลตามราชบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมได้รับความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอ

หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์

มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักระบูชา ผู้ใดละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด มิได้

มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัม

ส่วนที่ ๑ บททั่วไป

มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง

มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้

ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน

มาตรา ๔๑ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

หมวด ๑บททั่วไป

มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม

มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน

 

หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

 

ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค

 

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล

มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

 

ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

 

ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น

การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕0บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

- การเลือกแบบสัดส่วนกำหนดเขตเลือกไว้กี่กลุ่ม 8 กลุ่ม

- บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี 12 ปี

- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าไรมีกี่มาตรา ฉบับที่ 18 มี 309ฉบับ

- มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่เท่าไหร่ ประกาศใช้เมือ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2550

- ในรัฐธรรมนูญ หมวดที่ ทั่วไป การจัดการศึกษาควรยึดหลักใด

การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

- ในหมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรเกี่ยวกับการศึกษาอย่างไร

- การจัดการศึกษามีกี่รูปอะไรบ้าง คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

- หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษาแบ่งเป็นกี่ระดับระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจ ลงไปสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มากที่สุด

4. ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

เนื่องจากปัจจุบันรัฐธรรมนูญมีความสำคัญในการใช้ชีวิตของเราเพราะการศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของรัฐธรรมนูญทำให้เราได้รับสิทธิในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ และ สามารถเข้าใจความหมายมากขึ้นเมื่อมีปัญหาเราสามารถใช้ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เรียนมาใช้ในการต่อสู้กับคู่กรณีได้ถูกต้อง

5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมี ประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการ ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของประเทศไทยในองค์รวม สังคมจะมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีความเป็นนิติธรรมมากขึ้น และมีความสงบสุขมากขึ้น ถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงพึงระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องทำให้รัฐธรรมนูญเป็น "กติการ่วมกันของประชาชน"

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

ในการเมืองไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสภาผู้แทนราษฏร์ที่ได้เข้ารับดำรงตำแหน่งก็มาจากการเลือกแบบประชาธิปไตย แต่ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคิดถึงจุดนี้เมื่อมีการเลือกตั้งก็มีการซื้อเสียง จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ที่มีอำนาจ และอิทธิพลเข้ามาบริหารประเทศที่ ทำให้เกิดความขัดแย้งๆจึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างมากภายในประเทศจึงทำให้ประเทศไทยขาดความมั่นคงเพราะผู้บริหารประเทศมีการแบ่งพรรค แบ่งทีม จึงทำให้การบริหารประเทศเป็นไปได้ยากที่จะให้ประเทศไทยมีความมั่นคง และมีความสงบสุข เหมือนในอดีตคงยากต่อความสามารถของผู้บริหารประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



Let me introduce myself ……

  

            Hello ! every  body My name is  Monrudee  Sirimas.  You can call me Bo.  Now I  studying  at Nakhon Si Thammarat  Ratjabhat University.  Faculty of Education  English program . I live in Nakhon Si Thammarat  Provice.  I am single. In the free time I like to online  facebook  and listen to music. My favorite food is fried rice seafood.My favorite color is orange and pink.




Activity  1

ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่เกี่ยวกับกฎหมาการศึกษา มา 10 ข้อ

1.           ปรัชญา (Philosophy): นิยามว่า ระบบความเชื่อที่เป็นผลจากการแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการแสวงหาความหมายของชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆ

2.           . มาตรฐานการศึกษา (Education Standards): นิยามว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา

3.           นโยบาย นิยามว่า แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฎิบัติให้บรรลุเป้า หมายตามต้องการ

4.           ปณิธาน (Will): นิยามว่า ความตั้งใจหรือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตนเองให้คุณค่าและมีความเชื่อซึ่งก่อให้เกิดพลังจิต ที่จะกำหนดความคิดและการกระทำของตนเอง

5.           พระราชกฤษฎีกา นิยามว่า เป็นกฎหมายลูกบทกล่าวคือมิได้เป็นกฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายที่ออกมาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภา,พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งเป็นต้นที่ออกภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

6.           ศาลยุติธรรม นิยามว่า คือศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมการละเมิดสิทธิ ร่างกาย ทรัพย์สินเช่นศาลอาญา,ศาลแพ่ง

7.           คดีแพ่ง นิยามว่า คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน

8.           ภาษีอากร นิยามว่า เงินรายได้ที่รัฐจัดเก็บจากผู้ที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด

9.           คดีอาญา นิยามว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน

10.  วินาศภัย นิยามว่า ความเสียหายอย่างใด บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

 

อ้างอิงจาก

- จุมพล หนิมพานิช, 2549 : 5- http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=16.0
- https://www.google.co.th/- http://school.obec.go.th/sup_br3/borwon3.html
- http://www.moobankru.com/knowledge1.html