วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้  ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
   เด็ก  เด็กเร่ร่อน  เด็กกำพร้า  เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก    เด็กพิการ  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  นักเรียน  นักศึกษา  บิดามารดา  ผู้ปกครอง  ครอบครัวอุปถัมภ์ การเลี้ยงดูโดยมิชอบ   ทารุณกรรม  สืบเสาะและพินิจ  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานแรกรับสถานสงเคราะห์  สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ 
เด็กหมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กพิการหมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นักเรียนหมายความว่า เด็กซึ่งกำ ลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
นักศึกษาหมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
บิดามารดาหมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
ผู้ปกครองหมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็ก
อาศัยอยู่ด้วย
ครอบครัวอุปถัมภ์หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
การเลี้ยงดูโดยมิชอบหมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
ทารุณกรรมหมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
สืบเสาะและพินิจหมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมายและหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
สถานรับเลี้ยงเด็กหมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
สถานแรกรับหมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
สถานสงเคราะห์หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพหมายความว่า สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
สถานพัฒนาและฟื้นฟูหมายความว่า สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดขึ้นเพื่อให้การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษาแนะแนว และการฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นกรณีพิเศษ
สถานพินิจหมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการ และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมการกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็กหรือไม่ ให้พิจารณาตามแนวทางที่กำหนดในกฎกระทรวง

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
(๑) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
(๒) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
(๓) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๔) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
() กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
(๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
(๖) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
(๑๐) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศ
8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่น ถูกจำคุกกักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอัดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
(๖) เด็กพิการ
(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                 9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
() เด็กที่ถูกทารุณกรรม
() เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
() เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกระทรวง
 10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวิธีการส่งเสริมความประพฤติ
ของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดกฎกระทรวง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และมีอำนาจนำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง  มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑)หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร



กิจกรรมที่ 6


1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด
พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 ธั
นวาคม 2547

2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
ตำแหน่งที่มี่อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ช้บัญชีของข้าราชการพลเรือนเงินวิทยฐานะและเงินเดือนประจำตำแหน่งไม่ถือว่าเป็นเงินเดือน
3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่าเนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นข้าราชการที่ได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ในการที่จะได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ประกอบกับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รายได้สุทธิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลดลง สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่ากันทุกอันดับในอัตราร้อยละ 4 หากอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
เงินเดือนครูผู้ช่วย ที่บรรจุด้วย วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี  เมื่อบรรจุ จะได้รับเงินเดือน 7,940 บาท ถ้าผ่านการประเมิน เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว 2 ปี  จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 ขั้น 10,770 บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.2553  แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 โดยมีผลบังคับใช้ ประกอบกับเงินเดือนขั้น 10,770 บาท ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.  จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาทไป และให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาท เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดังตัวอย่างเช่น 
นาย ก. บรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ได้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ขั้น 7,940 บาท เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว ในวันที่ 2 เมษายน 2554 ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาท ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2554 หากนาย ก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน จำนวน 0.5 ขั้น ก็ให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาทเป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เลื่อนไปได้รับเงินเดือนในขั้น 11,310 บาท เป็นต้น




กิจกรรมที่ 5


1.             พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
        ประกาศใช้ พรบ สภาครูเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้วันที่ 2 มิถุนายน 2546
2.             ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
         ใบวิชาชีพครูออกให้แก่ ครู ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น
3.             คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
- กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
- กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
- ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิช
4.             อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.












.


กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ควบคุม ความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฏกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
15. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
16. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้
             5.             คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
 1..             ค่าธรรมเนียมตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2.            เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
3.             ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
4.             เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
5.      ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4) รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฏหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฏหมายภาษีอากร

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
39 คน ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฏหมาย
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนม่น้อยกว่า 10 ปี/ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ม่ต่ำกว่าวิทยะฐานะชำนาญการ
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 20 กำหนดให้ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
2. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
3. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54
4. เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฏหมายกำหนด
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
ควบคุม ดูแล การดำเนินงาน และการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
(ข) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภา
(ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัย และการลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
(จ) กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
7. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฏหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
9. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
17 คน ประธานคือ รมต แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภาพิจารณาการออกใบอนุญาติพักใช้หรือเพิกถอน
11.      ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
เลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์- ไม่เกิน 65 ปี
12.      ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือ เขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน
13.      คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิมิทางการศึกษา/ ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด
14.      หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภาใน 30 วัน
15.      มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
-                   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
-                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
-     มาตรฐานการปฏิบัติตน
16.      . มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย
  1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
  2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
   5. จรรยาบรรณต่อสังคม

17.      สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
สมาชิกคุรุสภามี 2 ประเภท
1) สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา 59 สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(4) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(5) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพครูและบุคคลทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
มี 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
 ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการยกเว้นมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทังจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษ ต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
              อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ต่อ/ แทน , รอง , นาน ขึ้น = 200, 300, 400, 500 บาทหมายถึงค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนายการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท

2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
วิชาชีพทางการศึกษา    นอกจากจะเป็นวิชาชีพชั้นสูงประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น  เช่น  แพทย์  วิศวกร  สถาปนิก  ทนายความ  พยาบาล  สัตวแพทย์  ฯลฯ 
ซึ่งจะต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพนั้นๆ  แล้ว    ยังมี
บทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ  กล่าวคือ
      1.  สร้างพลเมืองดีของประเทศ โดยการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ ประชาชนเป็นพลเมืองดีตามที่ประเทศชาติต้องการ
      2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ
      3.  สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ   จากคนรุ่นหนึ่งไปอีก รุ่นหนึ่ง ให้มีการรักษาความเป็นชาติไว้อย่างมั่นคงยาวนาน
      จากบทบาทและความสำคัญดังกล่าว    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  จึงกำหนดแนวทางในการดำเนินงานกำกับดูแลรักษาและพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา  โดยกำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  และผู้บริหารการศึกษา ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ    ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ.  2546    ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพทางการศึกษา กำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ประกอบด้วย
        1.  วิชาชีพครู
        2.  วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
        3.  วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
        4.  วิชาชีพควบคุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
    การกำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุ จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพรวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น
2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
วิชาชีพ    (Profession)    เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ    ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น    และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ  โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อน ที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ (Career)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ  โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น
  วิชาชีพซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง  ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงตามมา    เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน  จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ  เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา  (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ  (Long Period  of Training)  มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy)  และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics) รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ  (Professional  Institution)  หรือองค์กร
วิชาชีพ (Professional Organization) เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
วงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม    ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
  1.  ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ    โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ไม่ได้รับอนุญาต  หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
  2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
  3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา  หรือกรรมการคุรุสภา  กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ  และบุคคลอื่น  มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
  4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ    คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ    ตักเตือน    ภาคทัณฑ์    พักใช้ใบอนุญาต    หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
  การกำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม นับเป็นความก้าวหน้าของวิชาชีพทางการศึกษา และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อผู้รับบริการทางการศึกษาที่จะได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานที่สูงขึ้นด้วยซึ่งจะทำให้วิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา มีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม
4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา    ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ  ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา    และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม  นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ    ต้องใช้ความรู้    ทักษะ    และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ   ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ. 2546  มาตรา  49
กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
    1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
  2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ    ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน  หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ    เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่    นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
  3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ  เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป     หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว  ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย  ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้    (1)    ยกข้อกล่าวหา    (2)    ตักเตือน    (3)ภาคทัณฑ์  (4)   พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร    แต่ไม่เกิน    5    ปี  (5)   เพิกถอน
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู  หมายถึง  การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง    การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ    และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน  หรือสมาคมจัดขึ้น
มาตรฐานที่ 2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน    หมายถึง  การเลือกอย่างชาญฉลาด    ด้วยความรัก  และหวังดีต่อผู้เรียน    ดังนั้น    ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
  มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด    ตามความถนัด    ความสนใจ    ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา  ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน  ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง    หมายถึง    การเลือกใช้ ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน  บันทึกการสอน  หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  หมายถึง  การประดิษฐ์คิดค้น    ผลิตเลือกใช้    ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์    เอกสารสิ่งพิมพ์    เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
  มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน    หมายถึง    การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้    ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง  และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง    ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
  มาตรฐานที่ 7   รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ  หมายถึง  การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ  ปัจจัย  และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
  1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการ
    พัฒนาผู้เรียน
  2)  เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนา
          คุณภาพของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ
  3)  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน
  4)  ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
  มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน  หมายถึง  การแสดงออก  การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป  การแต่งกาย  กิริยา  วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง
  มาตรฐานที่ 9  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์    หมายถึง    การตระหนักถึงความสำคัญ    รับฟังความคิดเห็น    ยอมรับในความรู้ความสามารถ    ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
  มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญรับฟังความคิดเห็น  ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน  และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา  ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
  มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน  โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู    สามารถวิเคราะห์    วิจารณ์อย่างมีเหตุผล    และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
  มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์  การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์  หมายถึง  การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่นๆ  ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้    เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร    เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่างๆ    มาเป็นโอกาสในการพัฒนา    ครูจำเป็นต้องมองมุมต่างๆ  ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา    กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน    ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่างๆ ได้  กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่างๆ มีสติในการแก้ปัญหา  มิได้ตอบสนองปัญหาต่างๆ  ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว    ครูสามารถมองหักมุมในทุกๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่าง
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
  1.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  2.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  3.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่  ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า 
  4.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  5.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี    ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
  6.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
  7.   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่ เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ