วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 4


1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ บริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
การศึกษาภาคบังคับหมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
 สถานศึกษาหมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษา
 ผู้ปกครองหมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้
  เด็กหมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหมายความว่า คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
  พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
  ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
 ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก  แล้วแต่กรณี  เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
4.ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
สรุปได้ว่า
-                   อำนาจหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ใน พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
-                   อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการคือ จัดการศึกษา บำรุงรักษา สืบสารศิลปวัฒนธรรม
-                   การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดไว้ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
-                   การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการควรคำนึงถึง
คุณวุฒิ ประสบการณ์และมาตรฐานวิชาชีพ , ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
-                   การจัดบริหารราชการส่วนกลางประกอบด้วย ส่วนราชการที่ข้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
-                   ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
-                   คณะกรรมการสภาการศึกษากำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ 2546
-                   หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
-                   หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้คือ กระทรวงศึกษาธิการ  กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
-                   การจัดรูปแบบการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
-                   การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
-                   การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างการ จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือ ทุพพลภาค
-                   ผู้บังคับข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการ
-                   ผู้บังคับข้าราชการและสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา คือ เลขิการคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น