วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


1.             พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
        ประกาศใช้ พรบ สภาครูเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้วันที่ 2 มิถุนายน 2546
2.             ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
         ใบวิชาชีพครูออกให้แก่ ครู ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น
3.             คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
- กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
- กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
- ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิช
4.             อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.












.


กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ควบคุม ความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฏกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
15. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
16. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้
             5.             คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
 1..             ค่าธรรมเนียมตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2.            เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
3.             ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
4.             เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
5.      ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4) รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฏหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฏหมายภาษีอากร

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
39 คน ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฏหมาย
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนม่น้อยกว่า 10 ปี/ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ม่ต่ำกว่าวิทยะฐานะชำนาญการ
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 20 กำหนดให้ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
2. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
3. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54
4. เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฏหมายกำหนด
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
ควบคุม ดูแล การดำเนินงาน และการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
(ข) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภา
(ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัย และการลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
(จ) กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
7. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฏหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
9. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
17 คน ประธานคือ รมต แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภาพิจารณาการออกใบอนุญาติพักใช้หรือเพิกถอน
11.      ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
เลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์- ไม่เกิน 65 ปี
12.      ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือ เขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน
13.      คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิมิทางการศึกษา/ ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด
14.      หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภาใน 30 วัน
15.      มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
-                   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
-                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
-     มาตรฐานการปฏิบัติตน
16.      . มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย
  1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
  2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
   5. จรรยาบรรณต่อสังคม

17.      สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
สมาชิกคุรุสภามี 2 ประเภท
1) สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา 59 สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(4) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(5) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพครูและบุคคลทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
มี 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
 ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการยกเว้นมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทังจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษ ต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
              อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ต่อ/ แทน , รอง , นาน ขึ้น = 200, 300, 400, 500 บาทหมายถึงค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนายการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท

2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
วิชาชีพทางการศึกษา    นอกจากจะเป็นวิชาชีพชั้นสูงประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น  เช่น  แพทย์  วิศวกร  สถาปนิก  ทนายความ  พยาบาล  สัตวแพทย์  ฯลฯ 
ซึ่งจะต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพนั้นๆ  แล้ว    ยังมี
บทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ  กล่าวคือ
      1.  สร้างพลเมืองดีของประเทศ โดยการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ ประชาชนเป็นพลเมืองดีตามที่ประเทศชาติต้องการ
      2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ
      3.  สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ   จากคนรุ่นหนึ่งไปอีก รุ่นหนึ่ง ให้มีการรักษาความเป็นชาติไว้อย่างมั่นคงยาวนาน
      จากบทบาทและความสำคัญดังกล่าว    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  จึงกำหนดแนวทางในการดำเนินงานกำกับดูแลรักษาและพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา  โดยกำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  และผู้บริหารการศึกษา ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ    ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ.  2546    ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพทางการศึกษา กำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ประกอบด้วย
        1.  วิชาชีพครู
        2.  วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
        3.  วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
        4.  วิชาชีพควบคุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
    การกำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุ จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพรวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น
2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
วิชาชีพ    (Profession)    เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ    ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น    และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ  โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อน ที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ (Career)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ  โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น
  วิชาชีพซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง  ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงตามมา    เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน  จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ  เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา  (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ  (Long Period  of Training)  มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy)  และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics) รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ  (Professional  Institution)  หรือองค์กร
วิชาชีพ (Professional Organization) เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
วงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม    ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
  1.  ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ    โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ไม่ได้รับอนุญาต  หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
  2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
  3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา  หรือกรรมการคุรุสภา  กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ  และบุคคลอื่น  มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
  4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ    คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ    ตักเตือน    ภาคทัณฑ์    พักใช้ใบอนุญาต    หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
  การกำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม นับเป็นความก้าวหน้าของวิชาชีพทางการศึกษา และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อผู้รับบริการทางการศึกษาที่จะได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานที่สูงขึ้นด้วยซึ่งจะทำให้วิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา มีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม
4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา    ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ  ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา    และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม  นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ    ต้องใช้ความรู้    ทักษะ    และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ   ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ. 2546  มาตรา  49
กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
    1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
  2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ    ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน  หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ    เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่    นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
  3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ  เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป     หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว  ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย  ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้    (1)    ยกข้อกล่าวหา    (2)    ตักเตือน    (3)ภาคทัณฑ์  (4)   พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร    แต่ไม่เกิน    5    ปี  (5)   เพิกถอน
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู  หมายถึง  การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง    การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ    และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน  หรือสมาคมจัดขึ้น
มาตรฐานที่ 2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน    หมายถึง  การเลือกอย่างชาญฉลาด    ด้วยความรัก  และหวังดีต่อผู้เรียน    ดังนั้น    ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
  มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด    ตามความถนัด    ความสนใจ    ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา  ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน  ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง    หมายถึง    การเลือกใช้ ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน  บันทึกการสอน  หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  หมายถึง  การประดิษฐ์คิดค้น    ผลิตเลือกใช้    ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์    เอกสารสิ่งพิมพ์    เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
  มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน    หมายถึง    การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้    ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง  และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง    ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
  มาตรฐานที่ 7   รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ  หมายถึง  การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ  ปัจจัย  และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
  1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการ
    พัฒนาผู้เรียน
  2)  เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนา
          คุณภาพของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ
  3)  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน
  4)  ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
  มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน  หมายถึง  การแสดงออก  การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป  การแต่งกาย  กิริยา  วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง
  มาตรฐานที่ 9  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์    หมายถึง    การตระหนักถึงความสำคัญ    รับฟังความคิดเห็น    ยอมรับในความรู้ความสามารถ    ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
  มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญรับฟังความคิดเห็น  ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน  และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา  ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
  มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน  โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู    สามารถวิเคราะห์    วิจารณ์อย่างมีเหตุผล    และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
  มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์  การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์  หมายถึง  การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่นๆ  ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้    เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร    เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่างๆ    มาเป็นโอกาสในการพัฒนา    ครูจำเป็นต้องมองมุมต่างๆ  ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา    กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน    ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่างๆ ได้  กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่างๆ มีสติในการแก้ปัญหา  มิได้ตอบสนองปัญหาต่างๆ  ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว    ครูสามารถมองหักมุมในทุกๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่าง
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
  1.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  2.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  3.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่  ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า 
  4.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  5.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี    ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
  6.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
  7.   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่ เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น