วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556


สอบกลางภาค
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
Ø กฎหมายคือ ข้อกำหนดคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฎิบัติตาม  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับหรือมีโทษทางกฎหมายตามมาตราต่างๆ ที่กำหนดไว้ 
Ø ข้อความที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ   มีเนื้อหาสารประโยชน์  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง   พิสูจน์และตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน   เป็นที่ยอมรับของทุกคนทุก
        ความเสมอภาค คือประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นการปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของบุคคลไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ไม่ว่าเขาจะยากจนหรือร่ำรวยไม่ว่าเขาจะมีการศึกษาสูงหรือทุกคนเหล่านี้ต้องได้รับความเท่าเทียมทางกฎหมายอย่างความเสมอภาคตามกฎหมาย ซึ่งจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
Ø ดิฉันเห็นด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพครูเป็นการบอกถึงศักยภาพทางด้านการเรียนการทำงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใบประกอบวิชาชีพครูจึงมีความจำเป็นในการสอบบรรจุเข้ารับราชการครูเป็นหลักฐานที่สำคัญที่บ่งบอกว่าเราจบทางด้านใด มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงต้องการหรือไม่
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
·       ปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม  และมีวิถีชีวิตความเป็นไทย  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม
·        ยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน โดยพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ระบบบริหารจัดการ และเพิ่มสมรรถนะครูและ ผู้บริหาร
·       สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของนักเรียน  ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาและประชาชนในท้องถิ่น
เช่น จัดกิกรรมโดยให้ผู้ปกครองมี่ส่วนร่วม เช่น วันพ่อ วันแม่
·       พัฒนาโรงเรียนให้มีสภาพแวดล้อม  แหล่งเรียนรู้  งานวิจัย  สื่อ  นวัตกรรม  และ เทคโนโลยีสารสนเทศ  ในการจัดการเรียนรู้  และการบริหารจัดการ
·       ส่งเสริมทางด้านเงินทุนให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจนโดยการทำเอกสารขอเงินทุนต่างที่เข้ามาเพื่อให้เด็กมีทุนในการศึกษา
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบการศึกษามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดม
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาภาคบังคับ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา อายุ 36 ปี อนุบาล
1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา  ป1- ป6
1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
      - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม1- ม3
    - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม 4- 6
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป เช่น การศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล เด็กประถม
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
มีการจัดโดยการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(5) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Ø ผู้ที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการคือ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการ ศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ถ้ามีครูหรือบุคลากรไปสอนในสถานศึกษา ดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำผิดต่อ พรบ ที่กำหนดไว้ เพราะบุคคลที่ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนการสอนะต้องมีการกำหนดตำแหน่งให้มีคุณวุฒิทางการศึกษา และต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูที่สามารถเป็นหลักฐานว่ามีคุณสมบัติในการัดการเรียนการสอน
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา82- 97 หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
เด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่มีปัญหาและจะต้องมี พรบ คุ้มครองเด็กในกรณีต่างๆและทางรัฐบาลจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความอบอุ่นเด็กเพื่อไม่ให้เด็กมีปมด้อยและส่งเสริมเด็กทางด้านที่ดีเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสังคม
เด็ก คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเสียชีวิต และไม่สามารถสืบหาผู้ปกครองได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ  เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กพิการ คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น