วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่  8

1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546  และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
  นายกรัฐมนตรี
3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
           เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริกาแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

4. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี กี่หมวด กี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
           พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี 9  หมวด ประกอบด้วย 53 มาตรา  ประกอบด้วย
หมวดที่ ๑ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา ๖                                                                                    
หมวดที่ ๒การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน มาตรา ๗ มาตรา ๘
หมวดที่ ๓ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา ๙
หมวดที่ ๔ การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ มาตรา ๒๐ - มาตรา ๒๖
หมวดที่ ๕ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มาตรา ๒๗ - มาตรา ๓๒
หมวดที่ ๖ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ มาตรา ๓๓ - มาตรา ๓๖
หมวดที่ ๗ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน มาตรา ๓๗ - มาตรา ๔๔
หมวดที่ ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ มาตรา ๔๕ - มาตรา ๔๙
หมวดที่ ๙ บทเบ็ตเตล็ด มาตรา ๕๐ - มาตรา ๕๓

5. วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4.ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

6. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการ
           หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน คือ คณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการ  นายกรัฐมนตรีสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ

7. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน

          เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

8. แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
          แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผน 4 ปี โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
           ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานงบประมาณ

10. การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย

            การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินความคุ้มค่า ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึ่งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น